เก้าอี้ทำงาน ราคาถูก

เก้าอี้ทำงาน ราคาถูก

เก้าอี้ทำงาน ราคาถูก – การทำงาน ในออฟฟิศ เป็นเวลาหลายชั่วโมง เป็นเหตุให้ เกิดความเมื่อยล้า ส่งผลให้เกิดอาการ ออฟฟิศซินโดรม เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่เหล่ามนุษย์ออฟฟิศ ต้องพบเจออย่าง ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่า อาการออฟฟิศซินโดรม และอาการปวดเมื่อย เวลาที่ต้องนั่งบนเก้าอี้ เป็นเวลานาน ๆ นั้นสามารถ บรรเทาลงได้ หากมี เก้าอี้ทำงาน ที่ดี

ลักษณะของ เก้าอี้ทำงาน ราคาถูก ที่ดี ตอบโจทย์การใช้งาน

         สำหรับเก้าอี้ออฟฟิศ ที่วางจำหน่ายตาม ท้องตลาด ปฏิเสธไม่ได้เลย ว่ามีหลายประเภท และมีลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป สามารถจำแนก ตามลักษณะเด่น ๆ ที่มนุษย์ออฟฟิศ นิยมใช้ แบ่งออกได้ทั้งหมด 3 รูปแบบ ดังนี้

 

  1. เก้าอี้ที่ช่วยเรื่องออฟฟิศซินโดรม
  • เก้าอี้ที่ช่วยลดอาการปวดเอว ตัวเก้าอี้จะต้องยืดหยุ่น มีส่วนที่รองรับส่วนเว้าบริเวณเอวและหลังได้ดี เช่น พนักพิงที่ทำจากตาข่ายคุณภาพดี มีลักษณะที่เอนไปด้านหลังเล็กน้อย และมีความสูงระดับไหล่

 

  • เก้าอี้ที่ช่วยลดอาการปวดไหล่ สำหรับเก้าอี้ที่ช่วยลดอาการปวดไหล่ได้จะต้องมีที่พักแขน สามารถปรับระดับและกระจายน้ำหนักได้ดี ที่สำคัญต้องสามารถช่วยพยุงตัวเมื่อลุกขึ้นยืนได้

 

  • เก้าอี้ที่ช่วยลดอาการปวดหลัง ยิ่งเป็นคนที่นั่งหลังค่อมบ่อยๆ ก็ยิ่งทำให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักมากเป็นพิเศษ ดังนั้นตัวเก้าอี้ที่ดีจะต้องมีพนักพิงช่วงล่างที่สามารถรองรับสรีระได้ ไม่โค้งงอจนเกินไป

 

  • เก้าอี้ที่ช่วยลดอาการปวดคอ เพราะการทำงานในออฟฟิศ มักพ่วงมากับการจ้องคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน จึงทำให้เกิดอาการปวดคอ เก้าอี้ที่ดีต้องปรับความสูง-ต่ำได้ตามความเหมาะสมของระดับสายตา มีพนักพิงที่รองรับน้ำหนักกล้ามเนื้อคอได้ดี ยิ่งปรับองศาได้จะดีมาก

 

  1. เก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระของแต่ละคน

สำหรับลักษณะของเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระของร่างกาย ให้สังเกตจากสรีระและรูปร่างของผู้นั่งเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความสูงที่เหมาะสมกับท่านั่ง ที่ไม่ควรสูงหรือต่ำจนเกินไป มีความพอดีกับองศาการวางแขน มีความลึกที่สอดรับกับร่างกายผู้นั่ง ที่สำคัญคือพนักพิงคอควรปรับระดับได้ ซึ่งการเลือกเก้าอี้ตามสรีระนี้นอกจากจะช่วยให้นั่งสบายแล้ว ยังช่วยลดโอกาสการเป็นออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย

  1. เก้าอี้ทำงาน พร้อมเทคโนโลยีพิเศษ

โดยปกติแล้ว ลักษณะของเก้าอี้ทำงานที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยให้แก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของผู้นั่งได้ดีที่สุด เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมการทำงานที่ต้องนั่งเป็นเวลานาน ๆ สังเกตได้จากเก้าอี้ผู้บริหารที่มีลักษณะพิเศษ แตกต่างจากเก้าอี้นั่งทำงานทั่วไป เพราะอัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับการใช้งาน อาทิ ระบบ Follow Back ที่สามารถปรับเก้าอี้ได้ตามท่านั่ง หรือระบบ Lumbar Protection Support ที่ช่วยรองรับน้ำหนัก และลดอาการปวดหลังได้ดี

ทริคเลือกเก้าอี้ทำงาน ตามสไตล์ชาวออฟฟิศ

  1. กำหนดงบประมาณในการซื้อ

ก่อนเลือกซื้อเก้าอี้นั่งทำงาน สิ่งแรกก็คือการกำหนดงบประมาณที่มี เพราะจะช่วยคัดกรองได้ว่าในงบที่กำหนด มีเก้าอี้รุ่นไหนที่เหมาะสมบ้าง เช่น เก้าอี้ล้อเลื่อนที่มีราคาค่อนข้างถูก ซื้อง่ายใช้คล่อง เริ่มต้นเพียงหลักร้อยเท่านั้น

  1. สำรวจความต้องการในการใช้

สำรวจตัวเองว่ามีความต้องการใช้ในระดับไหน เช่น หากเป็นคนที่มีน้ำหนักตัวมาก และไหล่กว้าง ก็ต้องเลือกเก้าอี้ที่แข็งแรง มีความยืดหยุ่นสูง มีฐานที่กว้าง และมีล้อเลื่อนเพื่อความสะดวกต่อการใช้งานในออฟฟิศ

  1. ดูออฟชั่นพิเศษ

เก้าอี้สำนักงานแต่ละรุ่นย่อมมีออฟชั่น เทคโนโลยี และข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป เช่น เก้าอี้ผู้บริหาร Modernform มีระบบ 4D Armrest สามารถเท้าแขนปรับระดับได้ 4 ทิศทาง รองรับสรีระได้หลากหลาย ที่สำคัญคือ ได้รับการออกแบบให้เป็นมิตรกับระบบการไหลเวียนต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น สุขภาพไม่เสียในอนาคต

  1. เช็ควัสดุของเก้าอี้ทำงานให้ละเอียด

การเลือกเก้าอี้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือวัสดุ เพราะเก้าอี้ออฟฟิศต้องใช้งานหลายชั่วโมงต่อหนึ่งวัน ดังนั้นวัสดุที่ใช้ต้องแข็งแรง ทนทาน ไม่อับชื้น ทำความสะอาดง่าย และระบายอากาศได้ดี เช่น เก้าอี้ที่มีพนักพิงแบบตาข่าย

  1. อายุการใช้งานของเก้าอี้

การเลือกเก้าอี้ทำงานที่ดีที่สุดก็คือ การเลือกซื้อโดยคำนึงถึงอายุการใช้งาน และการรับประกัน ซึ่งระยะเวลาการรับประกันมีตั้งแต่ 1 ปีไปจนถึง 10 ปีให้คุณเลือก เพราะฉะนั้นหากเลือกเก้าอี้ที่มีการรับประกันคุณภาพยาวนาน จะช่วยให้คุณมั่นใจได้เรื่องอายุการใช้งาน คุณภาพ และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้อีกด้วย

สำหรับมนุษย์วัย ทำงานหลายคน อาจกำลังตก อยู่ในภาวะ “ออฟฟิศซินโดรม” (office syndrome) ที่มีอาการปวดต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง หรือปวดร้าวศีรษะ ซึ่งมีสาเหตุมา จากการนั่งทำงาน ท่าเดิมนาน ๆ หรือนั่งไม่ถูกวิธี กล้ามเนื้อต้อง เกร็งตัวเป็นระยะ เวลานาน ๆ โดยไม่มีการ ผ่อนคลาย การจ้องคอมนาน ๆ สภาพแวดล้อม ในการทำงานที่ ไม่เหมาะสม ตลอดจนทำงาน หนักเกินไป ทำให้เกิดความ เครียดร่วมด้วย ซึ่งหากไม่ บำบัดรักษา หรือป้องกัน ตั้งแต่ต้น อาจส่งผลร้ายแรง ต่อสุขภาพใน ภายหลังได้

 

1. ไม่ควรนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ

หากเริ่มรู้สึกปวดเมื่อย ควรพักการทำงานเพื่อผ่อนคลายร่างกายและสมอง อย่างการลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เดินไปสูดอากาศด้านนอกบ้าง ไม่ควรนั่งทำงานติดกันนานเกินไป

 

2. นั่งทำงานในท่าที่ถูกต้อง

การนั่งทำงาน ไม่ควรนั่งหลังค่อมหรือนั่งเอนหลัง เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการล้าและเสียบุคลิก ควรจะนั่งหลังตรง ซึ่งไม่เพียงช่วยลดอาการปวดหลัง แต่ยังทำให้สุขภาพหมอนรองกระดูกดีขึ้น ป้องกันโรคข้อ บรรเทาอาการปวดศีรษะ ทำให้การไหลเวียนของออกซิเจนดี และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้อีกด้วย

 

3. ไม่ควรเพ่งหน้าจอคอมนานๆ

กล้ามเนื้อร่างกายยังต้องการพักผ่อน สายตาเองก็เช่นกัน จึงไม่ควรเพ่งจอคอมนานหรือใกล้จนเกินไป ควรพักสายตาทุกๆ 1 ชั่วโมง เพราะหากเราเพ่งสายตากับจอคอมนานเกินไป อาจส่งผลทำให้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อตาและปวดศีรษะได้

 

4. ปรับสภาพแวดล้อมที่ทำงานให้น่าอยู่

บรรยากาศในห้องทำงานไม่ควรแออัดเกินไป มีอากาศถ่ายเทที่ดี ควรใช้โต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระ สำหรับแสงไฟในห้องควรจะมีความเหมาะสม ไม่จ้าหรือสลัวเกินไป จะช่วยถนอมสายตาได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญในห้องทำงานควรหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแสงแดดหรือแสงสว่างจากภายนอกส่องเข้ามาในห้องโดยตรง เพราะแสงที่สว่างเกินไปจะก่อให้เกิดแสงสะท้อนที่จอได้ง่าย ทำให้รู้สึก ไม่สบายตาได้

 

5. ออกกำลังกายคือยาวิเศษ

การออกกำลังกายเป็นการช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้มีอาการออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกีฬาที่ช่วยในเรื่องของการยืดเส้นและสร้างความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแล้ว ยังป้องกันเอ็นและข้อยึด ช่วยผ่อนคลายความเครียด และสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้อีกด้วย

 

6. รักษาด้วยการใช้ยา

สำหรับคนที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมที่เริ่มรุนแรงขึ้นแล้ว อาจต้องได้รับยาในการรักษา เช่น ยาบรรเทาอาการกล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ ยาคลายเครียด โดยยาเหล่านี้ควรผ่านการพิจารณาและสั่งโดยแพทย์ผู้วินิจฉัยเท่านั้น

 

7. รักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู

เป็นการรักษาด้วยการใช้เครื่องมือทางกายภาพ เช่น Ultrasound เครื่องดึงคอ หรือการรักษาด้วยการฝังเข็มแบบตะวันตก และการสอนท่าบริหาร เพื่อการป้องกันและรักษา ในเคสที่เป็นมานานเรื้อรังยังมีการสอนหายใจ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย

 

8. รักษาด้วย Shock Wave

คลื่นกระแทก (Shock Wave) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดระยะเรื้อรังที่ผ่านการรักษาต่างๆ มาแล้วไม่ดีขึ้น เหมาะกับผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) อาการปวดข้อศอก เอ็นข้อศอกอักเสบ พังผืดฝ่าเท้าอักเสบ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขา ปวดฝ่าเท้าเรื้อรัง โรครองช้ำ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดเข่า บาดเจ็บจากกีฬา เป็นต้น

กลับสู่หน้าหลัก – smallvillespain