เก้าอี้ทำงาน เพื่อสุขภาพ

เก้าอี้ทำงาน ราคาถูก

เก้าอี้ทำงาน เพื่อสุขภาพ –  เป็นเก้าอี้ที่ ถูกออกแบบตาม หลักสรีระศาสตร์ ที่จะช่วยเปลี่ยน พฤติกรรมการ นั่งผิดท่า เช่น นั่งหลังค่อม นั่งไม่เต็มก้น ท่านั่งที่ไม่กระจายน้ำหนัก ทำให้น้ำหนักลง ที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง นานเกินไป จนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ โรคออฟฟิศซินโดรม และปัญหา กระดูกสันหลังเสื่อมสภาพ ในระยะยาว เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ จะช่วยจัดสรีระตอน ที่นั่งทำงาน ให้ถูกต้อง ลดอาการบาดเจ็บ และทำให้สุขภาพหลัง ของคุณดีขึ้นแม้จะต้องนั่งทำงาน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ ทำให้คุณรู้สึกสบาย เวลานั่งทำงาน และยังสามารถนั่ง ทำงานได้นานขึ้นด้วย

การเลือก เก้าอี้ทำงาน เพื่อสุขภาพ

 ปรับความสูงเบาะรองนั่งได้

เบาะรองนั่งต้อง สามารถปรับความสูงได้ เพื่อให้เหมาะ กับความสูงของ แต่ละคน โดยระยะความสูง ของเบาะรองนั่งควรอยู่ที่ 16 – 21 นิ้ว เมื่อวัดจากพื้น ซึ่งระยะนี้เป็นระยะความสูง ของเบาะรองนั่งที่ เหมาะกับคนทั่วไป นอกจากนี้ วิธีการปรับเบาะรองนั่ง ควรทำได้ง่าย ปรับตอนที่คนนั่ง นั่งอยู่บนเก้าอี้ได้ ระยะความสูงที่ถูกต้อง ของเบาะรองนั่ง จะต้องทำให้เท้าของคนนั่ง สามารถวางราบที่ พื้นได้พอดี ไม่ลอยจากพื้น เวลานั่งเก้าอี้ ต้นขาขนานกับพื้น และแขนทั้ง 2 ข้างสามารถวางสูงได้ ระนาบเดียวกับ โต๊ะทำงาน

 

           ความกว้างและความลึกของเบาะรองนั่ง

เก้าอี้ที่นั่งสบายนอก จากจะต้องมีเบาะ ที่นุ่มแล้ว ยังต้องเป็นเก้าอี้ ที่มีความกว้างและความลึก ของเบาะรองนั่งที่มี พื้นที่มากเพียงพอ ให้คนนั่งสามารถนั่งได้เต็มก้น กระจายน้ำหนักได้ดี ทำให้ผู้นั่งหรือผู้ใช้งาน สามารถลงน้ำหนัก ที่กล้ามเนื้อต้นขาและก้น ทั้ง 2 ข้างได้เท่า ๆ กัน ส่วนใหญ่แล้วจะ มีความกว้างอยู่ที่ 17 – 20 นิ้ว ซึ่งจัดว่าเป็น ระยะมาตรฐาน ส่วนความลึก ของเบาะรองนั่งนอก จากจะต้องลึกพอให้ทิ้งน้ำหนัก ลงนั่งได้เต็มก้นแล้ว จะต้องมีระยะ ที่ลึกพอให้เวลาที่คนนั่งนั่ง พิงพนักพิงแล้ว ยังเหลือพื้นที่ระหว่าง ด้านหลังหัวเข่าจน ถึงขอบเบาะรองนั่ง เก้าอี้ประมาณ 2 – 4 นิ้ว และเก้าอี้ ที่ดีควรจะปรับเบาะ รองนั่งให้เลื่อนมาข้างหน้าหรือถอย ไปข้างหลังได้ อย่างสะดวก นั่งไปปรับไปได้ เพื่อให้พอดีกับความยาว ช่วงขาของแต่ละคน

 

           พนักพิงต้องรองรับช่วงเอวและหลังล่าง

เก้าอี้สุขภาพ ที่ดีจะต้องไม่ลืมที่จะรองรับ น้ำหนักของหลังล่าง ให้เป็นอย่างดี เพราะกระดูกสันหลัง ช่วงบริเวณเอวหรือ หลังล่างจะมีส่วนโค้งที่เว้าเข้าไปข้างใน และการนั่งทำงานเป็น เวลานานโดยที่ไม่มีอะไร มาซัพพอร์ตหลังล่างจะทำให้ส่วนโค้งนี้ กลายเป็นเส้นตรงแบนราบ ซึ่งเป็นสาเหตุ ให้โครงสร้างกระดูกสันหลังตึง ผิดรูปตามธรรมชาติ เลือดไหลเวียนไม่ดี เท่าที่ควร และสาเหตุของอาการปวดเอว และหลังล่างตามมา เก้าอี้ที่เหมาะสมจึงควร มีส่วนเว้าส่วนโค้งที่มารับกับหลังล่าง และควรปรับช่วงเอวได้ เพื่อให้เหมาะ กับสรีระและความยาว ของกระดูกสันหลัง ของแต่ละคน จะได้ช่วยพยุง และลดการทำงานหลังล่างให้ได้มากที่สุด

 

           ขนาดพนักพิงหลังต้องพอดีและปรับได้

ส่วนของพนักพิงหลัง ควรมีความกล้างมาตรฐานอยู่ที่ 12 – 19 นิ้ว เวลานั่งหลังต้อง แนบกับพนักพิงแบบ ไม่มีช่องว่าง เพื่อให้น้ำหนักตัว ถ่ายไปที่พนักพิงหลังแทนก้น ถ้าชิ้นส่วนพนักพิง แยกออกจากเบาะรองนั่ง นอกจากจะต้อง มีส่วนโค้งเว้าตาม กระดูกสันหลังแล้ว ก็ควรที่จะสามารถ ปรับความสูงและองศาการเอนของ พนักพิงได้ เพื่อให้สามารถซัพพอร์ท หลังของคนนั่งให้ ได้มากที่สุด แต่ถ้าเก้าอี้ที่คุณเล็งไว้มีพนักพิง และเบาะรองนั่งเชื่อมต่อ กันเป็นชิ้นเดียว อย่างน้อย ๆ พนักพิงหลัง ก็จะต้องปรับองศา การเอนได้ เพราะเวลานั่งทำงาน คนส่วนใหญ่จะโน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย ทำให้เวลาที่นั่งพิงพนักแล้วพนักพิงจะต้องยื่นมาด้านหน้าเล็กน้อยเพื่อช่วยรองรับแผ่นหลังได้พอดี ซึ่งการปรับองศาการเอนได้ก็จะช่วยให้เหมาะสมกับสรีระของแต่ละคน และทำให้นั่งสบายมากขึ้น

 

           ที่พักแขนเป็นสิ่งจำเป็น

เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ ที่ดีจะต้องมีที่วางแขน เพื่อช่วยลดการทำงานของช่วงไหล่ ทำให้สามารถถ่ายน้ำหนักลงที่พักแขนได้ ที่วางแขนในเก้าอี้เพื่อสุขภาพควรจะมีความสูงอยู่ที่ 7 – 10 นิ้วจากเบาะรองนั่ง และควรปรับความสูง – ต่ำได้ เพื่อให้แขนและข้อศอกสามารถวางได้อย่างพอดีระหว่างนั่งทำงาน ทำให้ไหล่ผ่อนคลาย และเมื่อต้องพิมพ์คีย์บอร์ด ช่วงแขนระหว่างข้อศอก กับข้อมือไม่ควรวางอยู่บน ที่พักแขน จึงจะเป็นท่านั่งพิมพ์ งานที่ถูกต้อง

 

          หมุนและเคลื่อนที่ได้อย่างคล่องแคล่ว

เก้าอี้เพื่อสุขภาพนอก จากจะต้องทำให้คุณนั่ง ได้สบายถูกต้องตามสรีระแล้ว ยังจะต้องสามารถหมุนได้และเคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ บริเวณโต๊ะทำงานได้อย่างง่ายดาย

 

เมื่อต้องนั่งทำงานในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานานเสี่ยงที่จะเป็นโรค ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

        ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) เนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โรคยอดฮิตคนทำงานออฟฟิศ

           ออฟฟิศซินโดรม มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ  เนื่องจากพฤติกรรมของคนทำงานส่วนใหญ่ ที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เป็นเวลานาน โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง และกล้ามเนื้ออักเสบได้ จึงเป็นสาเหตุหลักและปัจจัยสำคัญให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม

  • ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง มักมีอาการปวดแบบว้างๆ ๆไม่สามารถชี้จุดหรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก
  • ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือในบางครั้งมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน
  • ปวดหลังเรื้อรัง เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง นั่งไม่ถูกท่า นั่งหลังค้อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ เมื่อย เกร็งอยู่ตลอด รวมถึงงานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูง
  • ปวดตึงที่ขา หรือเหน็บชา อาการชาเกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
  • ปวดตา ตาพร่า เนื่องจากต้องมีการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ หรือใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน
  • มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์ในท่าเดิมๆ นาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วหรือข้อมือล็อคได้

   การรักษาออฟฟิศซินโดรม

          การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมมีด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายเพื่อรักษาอาการปวด การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม  ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมควรมาปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ ว่าเกิดจากสาเหตุใด มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ หรือไม่ เพื่อให้แพทย์ได้รักษาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล

 

กลับสู่หน้าหลัก – smallvillespain